Enter Slide 1 Title Here

Go to Template. Click on Edit HTML. Replace these texts with your own description. This template was designed by NewBloggerThemes.com ...

Enter Slide 2 Title Here

Go to Template. Click on Edit HTML. Replace these texts with your own description. This template was designed by NewBloggerThemes.com ...

Enter Slide 3 Title Here

Go to Template. Click on Edit HTML. Replace these texts with your own description. This template was designed by NewBloggerThemes.com ...

Enter Slide 4 Title Here

Go to Template. Click on Edit HTML. Replace these texts with your own description. This template was designed by NewBloggerThemes.com ...

วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2562

ถ่านหิน

Posted by ครูเบลล์ On 01:52


ยินดีต้อนรับเข้าสู่ BLOGGER อาจารย์อิสเฮาะ ยูโซะ

เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หมาย ถึงเชื้อเพลิงที่เปลี่ยนสภาพมาจากสิ่งมีชีวิตในยุคต่าง ๆ โดยกระบวนการทางธรณีวิทยาและธรณีเคมี เช่น น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ ถ่านหิน หินน้ำมัน

หินน้ำมัน

Posted by ครูเบลล์ On 01:51

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ BLOGGER 

อาจารย์อิสเฮาะ ยูโซะ (อ.เบลล์)

หินน้ำมัน (Oil Shale)

รูปที่ 1 หินน้ำมัน (Oil Shale)
มาจาก : https://www.thebalance.com/thmb/B5B8QQfGtrpbATyqD5ajw7NLB6s=/300x200/filters:saturation
(0.2):brightness(10):contrast(5):no_upscale()/oil_shale-57a63f7a3df78cf4591ad926.jpg

          หินน้ำมัน (Oil Shale) หมายถึง หินตะกอนเนื้อละเอียดที่มีการเรียงตัวเป็นชั้นบาง ๆ มีสารประกอบอินทรีย์ที่สำคัญคือ เคอโรเจน (kerogen) แทรกอยู่ระหว่างชั้นหินตะกอนโดยทั่วไปมีความถ่วงจำเพาะ 1.6–2.5   หินน้ำมันคุณภาพดีจะมีสีน้ำตาลไหม้จนถึงสีดำ มีลักษณะแข็งและเหนียว เมื่อสกัดหินน้ำมันด้วยความร้อนที่เพียงพอ เคอโรเจนจะสลายตัวให้ น้ำมันหิน ซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำมันดิบ ถ้ามีปริมาณเคอโรเจนมากก็จะได้น้ำมันหินมาก การเผาไหม้น้ำมันหินจะมีเถ้ามากกว่าร้อยละ 33 โดยมวลโดยในขณะที่ถ่านหินมีเถ้าน้อยกว่าร้อยละ 33
รูปที่ 2 หินน้ำมันเมื่อเผาไฟ
มาจาก
: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/a3/Oilshale.jpg

          เคอโรเจน (Kerogen) เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นของแข็งลักษณะเป็นไข มีขนาดโมเลกุลใหญ่ มีมวลโมเลกุลมากกว่า 3000 ประกอบด้วย 
            C ร้อยละ 64–89% โดยมวล
            H ร้อยละ 7.1–12.8% โดยมวล
            N ร้อยละ 0.1–3.1% โดยมวล 
            S ร้อยละ 0.1–8.7% โดยมวล 
            O ร้อยละ 0.8–24.8% โดยมวล  

รูปที่ 2 ลักษณะของหินน้ำมันที่มีเคอโรเจนอยู่ในชั้นหินตะกอน 
มาจากhttp://1.bp.blogspot.com/-7bkOopnKBWM/UeyneBkaQoI/AAAAAAAAAno/
pCQrDndHCGo/s1600/12+(4).jpg

การเกิดหินน้ำมัน 

          หินน้ำมันแต่ละแหล่งในโลกพบว่ามีช่วงอายุตั้งแต่ 3 – 600 ล้านปี เกิดจากการสะสมและทับถมตัวของซากพืชพวกสาหร่าย และสัตว์พวกแมลง ปลา และสัตว์เล็ก ๆ อื่น ๆ ภายใต้แหล่งน้ำที่ภาวะเหมาะสมซึ่งมีปริมาณออกซิเจนจำกัด มีอุณหภูมิสูง และถูกกดทับจากการทรุดตัวของเปลือกโลกเป็นเวลานับล้านปี ทำให้สารอินทรีย์ในซากพืชและสัตว์เหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นสารประกอบเคอโรเจน ผสมคลุกเคล้ากับตะกอนดินทรายที่ถูกอัดแน่นกลายเป็นหินน้ำมัน ดังรูปที่ 2
         หินที่เป็นแหล่งกำเนิดหินน้ำมันจะคล้ายกับหินที่เป็นแหล่งกำเนิดปิโตรเลียม แต่หินน้ำมันอาจมีปริมาณเคอโรเจนมากถึงร้อยละ 40 ในขณะที่ปิโตรเลียมมีประมาณร้อยละ 1
          ส่วนประกอบของหินน้ำมัน มี 2 ประเภท คือ
          1) สารประกอบอนินทรีย์ ได้แก่  แร่ธาตุต่าง ๆ ที่ผุพังมาจากชั้นหินโดยกระบวนการทางกายภาพและทางเคมี ประกอบด้วยแร่ธาตุที่สำคัญ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
                    - กลุ่มแร่ซิลิเกต ได้แก่ ควอทซ์ เฟลสปาร์ เคลย์
                    - กลุ่มแร่คาร์บอเนต ได้แก่ แคลไซต์ โดโลไมต์
นอกจากนี้ ยังมีแร่ซัลไฟด์อื่น ๆ และฟอสเฟต ปริมาณแร่ธาตุในหินน้ำมันแต่ละแห่งจะแตกต่างกันตามสภาพการกำเนิด การสะสมตัวของหินน้ำมัน และสภาพแวดล้อม               
          2) สารประกอบอินทรีย์ ประกอบด้วยบิทูเมน และเคอโรเจน บิทูเมนละลายได้ในเบนซีน เฮกเซน และตัวทำละลายอินทรีย์อื่น ๆ จึงแยกออกจากหินน้ำมันได้ง่าย เคอโรเจนไม่ละลายในตัวทำละลาย หินน้ำมันที่มีสารอินทรีย์ละลายอยู่ในปริมาณสูงจัดเป็นหินน้ำมันคุณภาพดี เมื่อนำมาสกัดควรให้น้ำมันอย่างน้อยร้อยละ 50 ของปริมาณสารอินทรีย์ที่มีอยู่ แต่อาจได้น้ำมันเพียงร้อยละ 30 หรือน้อยกว่า แต่ถ้ามีสารอนินทรีย์ปนอยู่มากจะเป็นหินน้ำมันคุณภาพต่ำ 
             ประเทศไทยมีการสำรวจพบแหล่งหินน้ำมันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ที่ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก พบว่าชั้นหินน้ำมันค่อนข้างบาง มีปริมาณเคอโรเจนโดยเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 10 และมีปริมาณสำรองประมาณ 18.7 ล้านเมตริกตัน แต่ก็ยังไม่คุ้มกับการลงทุนทำเหมือง เนื่องจากปัญหาเรื่องความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามด้วยปริมาณดังกล่าวทำให้แหล่งหินน้ำมันนี้กลายเป็นแหล่งพลังงานสำรองขนาดใหญ่ของประเทศได้ในอนาคต




บิทูเมน เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่อยู่ในหินตะกอน เป็นของแข็งหรือค่อนข้างแข็ง สามารถละลายได้ในตัวทำละลายอินทรีย์และหลอมตัวได้

การใช้ประโยชน์จากหินน้ำมัน 

          1) หินน้ำมันใช้เป็นแหล่งพลังงานได้เช่นเดียวกับถ่านหิน ตั้งแต่ช่วงศตวรรษที่ 19 ต่อมามีผู้ศึกษาหาวิธีสกัดน้ำมันจากน้ำมันจนสามารถผลิตน้ำมันหินใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้ หินน้ำมัน 1000 กิโลกรัม เมื่อนำมาผ่านกระบวนการสกัดสามารถผลิตเป็นน้ำมันหินได้ประมาณ 100 ลิตร ผลิตภัณฑ์ที่ได้ประกอบด้วยน้ำมันก๊าด น้ำมันตะเกียง พาราฟิน น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันหล่อลื่น ไข แนฟทา และผลิตภัณฑ์ที่เป็นผลพลอยได้อื่น ๆ  เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต                 
          2) การทำเหมืองเพื่อผลิตหินน้ำมันมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากปิโตรเลียมโดยตรง ประเทศเอสโตเนียนำหินน้ำมันมาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2463 ปัจจุบันเป็นประเทศที่ใช้หินน้ำมันมากที่สุด โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า               

          3) ผลพลอยได้จากแร่ธาตุส่วนน้อย (trace elements) ที่มีอยู่ที่เกิดร่วมกับหินน้ำมันและสารประกอบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการสกัดหินน้ำมัน คือ ยูเรเนียม วาเนเดียม สังกะสี โซเดียมคาร์บอเนต แอมโมเนียมซัลเฟต และกำมะถัน น้ำมันและผลพลอยได้เหล่านี้สามารถนำไปใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ หลายชนิด เช่น ใยคาร์บอน คาร์บอนดูดซับ คาร์บอนแบล็ก อิฐ และปุ๋ย

หมายเหตุ : บทความที่ครูไฮไลต์เคยออกข้อสอบนะจ๊ะ เด็ก ๆ.......ครูเบลล์

ปิโตรเลียม

Posted by ครูเบลล์ On 01:50

พอลิเมอร์

Posted by ครูเบลล์ On 01:49

ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

ภาวะมลพิษที่เกิดจากการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์

การนำเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ขึ้นมาใช้ ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การกลั่นน้ำมันการแยกแก๊สธรรมชาติ การผลิตและการนำปิโตรเคมีภัณฑ์ไปใช้ การขนส่ง การทิ้งกากของเสียและขยะของสารที่ใช้แล้วอุตสาหกรรมเหล่านี้ล้วนมีผลโดยตรงต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้คุณภาพของอากาศ น้ำ และดินเปลี่ยนแปลงไป เกิดอันตรายทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อสิ่งมีชีวิต ภาวะแวดล้อมที่ก่อให้เกิดอันตรายเรียกว่า  ภาวะมลพิษ และเรียกสารที่ก่อให้เกิดภาวะมลพิษว่า สารมลพิษ ภาวะมลพิษด้านต่างๆ ที่สำคัญได้แก่ ภาวะมลพิษทางอากาศ ทางน้ำและทางดิน
Copyright 2012 วิชาวิทยาศาสตร์